ปัจจุบันการเลี้ยงดูลูกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะโลกเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นสังคม ครอบครัว หรือเทคโนโลยี พ่อแม่ยุคใหม่จึงต้องมีความรู้พื้นฐานในการเลี้ยงดูลูกน้อย พร้อมทั้งต้องมีความพร้อมทั้งทางร่างกาย สุขภาพจิตที่ดี มีทักษะในการสังเกตพฤติกรรมของลูกเมื่อเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี
ยกตัวอย่างปัญหาที่พ่อแม่เจอเมื่อลูกเริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ดี
1. ไม่ยอมกินข้าว นับเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในการเจริญเติบโตของเด็กทารกและเด็กเล็กที่อยากกินอาหารด้วยตัวเองมากกว่าการให้พ่อแม่คอยป้อนอาหารให้ และเป็นไปได้ว่า อาหารบางประเภทเด็กไม่ชอบ เช่น ไม่ชอบเนื้อ ไม่ชอบกลิ่น
โดยพ่อแม่ควรรับมือด้วยการสังเกตพฤติกรรมการเลือกกินของลูก เพื่อดูว่าลูกเลือกกินและไม่กินอาหารอะไรบ้าง จากนั้นควรกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- ให้ลูกกินข้าวด้วยตัวเอง โดยการให้ลูกใช้ช้อนส้อม ให้ลูกได้หัดกินเอง และพ่อแม่สังเกตว่าลูกรู้สึกหิว หรืออิ่มตอนไหน หากเด็กมีอากรหิวมากก็ควรเพิ่มอาหารให้เด็ก
- ชมลูกเมื่อกินอาหาร หากลูกชิมรสชาติหม่ของอาหารได้ หรือสามารถร่วมโต๊ะอาหารที่ดี พ่อแม่ควรชมลูกทันที เพื่อให้ลูกรู้สึกว่า พฤติกรรมที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสม และยังส่งผลให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่ให้ความสนใจที่ลูกกินอาหาร
2. พี่น้องทะเลาะกัน : เป็นธรรมชาติของเด็กที่จะเกิดการทะเลาะ รังแกกัน ซึ่งพ่อแม่ควรมีวิธีจัดการกับการทะเลาะของลูกอย่างถูกต้อง เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้ลูกได้รู้จักรักและดูแลซึ่งกันและกันได้นะคะ
ซึ่งวิธีที่จะช่วยพ่อแม่ในการปรับพฤติกรรมของลูกไม่ให้เกิดการทะเลาะได้นั้น สามารถแก้ไขได้ดังนี้
- พ่อแม่ควรให้เปิดโอกาสให้ลูกได้พูดถึงปัญหา และพยายามแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างลูกๆ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ แยกแยะเหตุแลผลให้ลูกเข้าใจ และไม่ควรใช้วิธี เป็นพี่ต้องเสียสละ เพราะจะส่งผลให้เด็กที่ถูกตำหนิ หรือเด็กที่ถูกร้องขอให้ยินยอม จะกลายเป็นทำให้เขาไม่เชื่อฟัง ไม่มีเหตุผลได้
3. ทำร้ายตัวเอง และทำร้ายผู้อื่น : การแสดงอาการก้าวร้าวและเอาแต่ใจบางครั้งถือเป็นเรื่องปกติในเด็กเล็ก และการทำร้ายคนอื่น โดยมักมีสาเหตุต่างๆ เช่น การเลียนแบบเพื่อน ความเครียด และเป็นไปได้ว่า เด็กเล็กยังไม่รู้จักการควบคุมอารมณ์ให้มั่นคง
ดังนั้น พ่อแม่ควรใช้เทคนิคหยุดพฤติกรรมทันทีเมื่อลูกทำร้ายผู้อื่น หรือทำร้ายตัวแอง และบอกกล่าวด้วยความเข้าใจ
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบการเจริญเติบโตและทักษะด้านต่างๆ ด้วยนะคะ ดังนั้น พ่อแม่ควรมีความรู้พื้นฐานในการเลี้ยงดู เพื่อรับมือพฤติกรรมของลูกน้อยอย่างเข้าใจ ก็จะเป็นการช่วยแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีให้เป็นปในทางที่ดีขึ้นได้อีกด้วยนะคะ :)
....................................................
สามารถติดตามกิจกรรม และองค์ความรู้ดีๆ เพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียน หน่วยงาน และองค์กรของท่านได้ที่นี่ http://www.thaihealthcenter.org/campaign