ศูนย์บริการ
'สื่อการเรียนรู้สุขภาวะ'
ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดสื่อ
ความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ต่อยอด
การเรียนรู้ สู่การมีสุขภาวะ
ที่ดีในทุกมิติ
มีหลักฐานชัดเจนว่า การบริโภคโซเดียมที่มากเกินไป จะเพิ่มระดับความดันโลหิต เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งยังทำให้เกิดโรคไต กระดูกเปราะ และมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย เพื่อตอบสนองต่อปัญหาประชากรในสังคมที่กำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากโซเดียม นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดการบริโภคเค็ม จึงได้นำเสนอมาตรการลดบริโภคโซเดียมไว้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวกลยุทธ์ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ดังนี้ค่ะ
1.ร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม : เพื่อปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร
2.ติดฉลากชัดเจน : แสดงปริมาณโซเดียมเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภค
3.สร้างสภาพแวดล้อม : ที่เอื้อต่อการส่งเสริมให้ประชาชนได้ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
4.รณรงค์ให้ความรู้ : เกี่ยวกับปริมาณโซเดียมที่ควรทานในแต่ละวัน และผลร้ายของการบริโภคโซเดียมมากเกินไป
และจากการศึกษาประสิทธิภาพและความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์ ของมาตรการลดโซเดียมในประเทศไทย โดยสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ในปี 2561 พบว่า มาตรการที่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้มากที่สุด คือ การร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม ปรับสูตรลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร ผ่านการใช้มาตรการทางภาษีและราคานั่นเองค่ะ. โดยวิธีนี้ สามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาล ที่แต่ละปีมีการสูญเสียทางเศรษฐกิจจากพฤติกรรมติดเค็มถึง 98,976 ล้านบาทต่อปีเลยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : บทความ ‘ยุทธศาสตร์ (ยุติ) ความเค็ม’ thaihealth.or.th